วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Web Application

web application (เว็บแอปพลิเคชัน) หรือ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ
            คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต
            เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดต และดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่าย และติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิกิ เป็นต้น
           การทำงานของ Web Application   โปรแกรมส่วนหนึ่งจะวางตัวอยู่บน Rendering Engine ซึ่งตัว Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือนำเอาชุดคำสั่งหรือรูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแสดงผล  นำมาแสดงผลบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในจอภาพ    โปรแกรมส่วนที่วางตัวอยู่บน Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่แสดงผล   จัดการตรวจสอบข้อมูลที่รับเข้ามาเบื้องต้น   และการประมวลบางส่วน   แต่ส่วนการทำงานหลักๆ จะวางตัวอยู่บนเซอร์เวอร์  
           ในลักษณะ Web Application แบบเบื้องต้น   ฝั่งเซอร์เวอร์จะประกอบไปด้วยเว็บเซอร์เวอร์  ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับไคลเอนต์ตามโปรโตคอล HTTP/HTTPS  โดยนอกจากเว็บเซอร์เวอร์จะทำหน้าที่ส่งไฟล์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงผลตามมาตรฐาน HTTP ตามปกติทั่วไปแล้ว   เว็บเซอร์เวอร์จะมีส่วนประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นตัวแปลภาษา เช่น Script Engine ของภาษา PHP  หรืออาจจะมีการติดตั้ง .NET Framework ซึ่งมีส่วนแปลภาษา CLR (Common Language Runtime) ที่ใช้แปลภาษา intermediate จากโค้ดที่เขียนด้วย VB.NET หรือ C#.NET  หรืออาจจะเป็น J2EE  ที่มีส่วนแปลไบต์โค้ดของคลาสที่ได้จากโปรแกรมภาษาจาวา เป็นต้น
     
     มีข้อดี ข้อเสีย 
          - ข้อดีของการออกแบบ Web Application ที่เห็นได้ชัดก็ คือ   โค้ดโปรแกรมทั้งหมดอยู่ที่ฝั่งเซอร์เวอร์   และมีโค้ดโปรแกรมบางส่วนจะถูกโหลดขึ้นบนไคลเอนต์เมื่อต้องการจะทำงาน   ส่วนโค้ดที่เหลือจะยังคงค้างอยู่ที่ฝั่งเซอร์เวอร์  ทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบ่อย  สามารถกระทำได้โดยง่ายโดยไม่ต้องทำระบบโหลด patch หรืออัปเดตเวอร์ชันใหม่ๆ ให้กับไคลเอนต์จำนวนมากบ่อยๆ   และโปรแกรมบางประเภทที่ต้องใช้ข้อมูลส่วนกลางเป็นจำนวนมากแต่จะไม่ได้ใช้ทั้งหมดในคราวเดียว   ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถที่จะส่งข้อมูลเบื้องต้นบางส่วนให้กับไคลเอนต์ไปก่อน  และเมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลส่วนอื่นๆ เพิ่มเติม  จึงค่อยส่งข้อมูลที่เหลือให้   การทำเช่นนี้จะทำให้ไม่ต้องส่งข้อมูลทั้งหมดไปยังผู้ใช้ในคราวเดียว  โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้งานอาจจะไม่ต้องการข้อมูลทั้งหมดนั้น การเลือกส่งเท่าที่ร้องขอจะช่วยลดปริมาณข้อมูลที่ต้องส่งผ่านระบบเครือข่ายลงได้
           - ข้อเสียของ Web Application ที่เห็นได้ก็มีดังเช่น   ไม่เหมาะสมสำหรับโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องแบ่งปันให้กับผู้อื่น    รวมถึงข้อมูลที่อาจจะมีความลับสูง (ถ้าต้องส่งผ่านอินเทอร์เน็ต ที่แม้จะเข้ารหัสไว้แล้ว  แต่อาจจะถูกเจาะและถอดรหัสนำข้อมูลออกมาไปใช้ได้)   เป็นต้น

ภาษาที่สามารถนำมาสร้าง web application ได้แก่
   -HTML(Hypertext Markup Language), XHTML (Extended HTML)
   -XML(Extendsible Markup Language)
   -JavaScript/Jscript
   -ASP.NET  
   -PHP
ภาษาที่เหมาะ่จะนำมาสร้าง web application มากที่สุด คือ
               Html, PHP, JAVA
      เพราะภาษาเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย สามารถหาแหล่งข้อมูลของการใช้งานได้ง่าย และในปัจจุบันภาษาเหล่านี้ยังเป็นที่นิยมในการนำมา สร้าง web application ด้วย
อ้างอิง  http://errerbot-webapplication1.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น