วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
           เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
          1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
          2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
          4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น

องค์ประกอบของการสื่อสาร 
          1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
          2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
          3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
          4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
          5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 
          การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
     ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) 
          การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส
     โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
          เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
     วอยซ์เมล (Voice Mail)              
          เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
     การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)              
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
     การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)              
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
     กรุ๊ปแวร์(groupware)              
           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
     การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)              
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
     การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)              
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                
     การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID) 
          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

ชนิดของสัญญาณข้อมูล 
          1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)              
          เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ
เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ              
          2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)              
          สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล                 Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที              
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                  
          โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที

ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ 
          1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
          2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
          3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)

ตัวกลางการสื่อสาร 
          1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
               -  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)              
                  สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
                -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)              
           สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
                -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)              
          สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
          2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
                - แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
                -  สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
                -  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
                -  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล 
          1.  ราคา
          2.  ความเร็ว
          3.  ระยะทาง
          4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
          5.  ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols) 
          1. บลูทูธ (Bluetooth)
          2. ไวไฟ (Wi-Fi)
          3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)
อ้างอิง http://www.thaigoodview.com/


วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Web Application

web application (เว็บแอปพลิเคชัน) หรือ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ
            คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต
            เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดต และดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่าย และติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิกิ เป็นต้น
           การทำงานของ Web Application   โปรแกรมส่วนหนึ่งจะวางตัวอยู่บน Rendering Engine ซึ่งตัว Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือนำเอาชุดคำสั่งหรือรูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแสดงผล  นำมาแสดงผลบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในจอภาพ    โปรแกรมส่วนที่วางตัวอยู่บน Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่แสดงผล   จัดการตรวจสอบข้อมูลที่รับเข้ามาเบื้องต้น   และการประมวลบางส่วน   แต่ส่วนการทำงานหลักๆ จะวางตัวอยู่บนเซอร์เวอร์  
           ในลักษณะ Web Application แบบเบื้องต้น   ฝั่งเซอร์เวอร์จะประกอบไปด้วยเว็บเซอร์เวอร์  ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับไคลเอนต์ตามโปรโตคอล HTTP/HTTPS  โดยนอกจากเว็บเซอร์เวอร์จะทำหน้าที่ส่งไฟล์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงผลตามมาตรฐาน HTTP ตามปกติทั่วไปแล้ว   เว็บเซอร์เวอร์จะมีส่วนประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นตัวแปลภาษา เช่น Script Engine ของภาษา PHP  หรืออาจจะมีการติดตั้ง .NET Framework ซึ่งมีส่วนแปลภาษา CLR (Common Language Runtime) ที่ใช้แปลภาษา intermediate จากโค้ดที่เขียนด้วย VB.NET หรือ C#.NET  หรืออาจจะเป็น J2EE  ที่มีส่วนแปลไบต์โค้ดของคลาสที่ได้จากโปรแกรมภาษาจาวา เป็นต้น
     
     มีข้อดี ข้อเสีย 
          - ข้อดีของการออกแบบ Web Application ที่เห็นได้ชัดก็ คือ   โค้ดโปรแกรมทั้งหมดอยู่ที่ฝั่งเซอร์เวอร์   และมีโค้ดโปรแกรมบางส่วนจะถูกโหลดขึ้นบนไคลเอนต์เมื่อต้องการจะทำงาน   ส่วนโค้ดที่เหลือจะยังคงค้างอยู่ที่ฝั่งเซอร์เวอร์  ทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบ่อย  สามารถกระทำได้โดยง่ายโดยไม่ต้องทำระบบโหลด patch หรืออัปเดตเวอร์ชันใหม่ๆ ให้กับไคลเอนต์จำนวนมากบ่อยๆ   และโปรแกรมบางประเภทที่ต้องใช้ข้อมูลส่วนกลางเป็นจำนวนมากแต่จะไม่ได้ใช้ทั้งหมดในคราวเดียว   ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถที่จะส่งข้อมูลเบื้องต้นบางส่วนให้กับไคลเอนต์ไปก่อน  และเมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลส่วนอื่นๆ เพิ่มเติม  จึงค่อยส่งข้อมูลที่เหลือให้   การทำเช่นนี้จะทำให้ไม่ต้องส่งข้อมูลทั้งหมดไปยังผู้ใช้ในคราวเดียว  โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้งานอาจจะไม่ต้องการข้อมูลทั้งหมดนั้น การเลือกส่งเท่าที่ร้องขอจะช่วยลดปริมาณข้อมูลที่ต้องส่งผ่านระบบเครือข่ายลงได้
           - ข้อเสียของ Web Application ที่เห็นได้ก็มีดังเช่น   ไม่เหมาะสมสำหรับโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องแบ่งปันให้กับผู้อื่น    รวมถึงข้อมูลที่อาจจะมีความลับสูง (ถ้าต้องส่งผ่านอินเทอร์เน็ต ที่แม้จะเข้ารหัสไว้แล้ว  แต่อาจจะถูกเจาะและถอดรหัสนำข้อมูลออกมาไปใช้ได้)   เป็นต้น

ภาษาที่สามารถนำมาสร้าง web application ได้แก่
   -HTML(Hypertext Markup Language), XHTML (Extended HTML)
   -XML(Extendsible Markup Language)
   -JavaScript/Jscript
   -ASP.NET  
   -PHP
ภาษาที่เหมาะ่จะนำมาสร้าง web application มากที่สุด คือ
               Html, PHP, JAVA
      เพราะภาษาเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย สามารถหาแหล่งข้อมูลของการใช้งานได้ง่าย และในปัจจุบันภาษาเหล่านี้ยังเป็นที่นิยมในการนำมา สร้าง web application ด้วย
อ้างอิง  http://errerbot-webapplication1.blogspot.com/

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

ซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ 2 ประเภท คือ
     1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
          ระบบปฏิบัติการ หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์แลซอฟต์แวร์ประยุกต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น MS - DOS , UNIX , Windows 95 , และ Mac System 7 เป็นต้น ระบบปฏิบัติงานมีหน้าที่หลัก ๆ คือ
               - จัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ ที่เก็บข้อมูลสำรอง และเครื่องพิมพ์
               - จัดการงานในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้
               - ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่น เช่น การรับข้อมูล และการแสดงผล เป็นต้น ปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะถูกเรียกให้เริ่มต้นทำงานผ่านระบบปฏิบัติการ
          ระบบปฏิบัติการทำงานอยู่เบื้องหลังการทำงานของผู้ใช้ โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการบนเครื่องเมนเฟรมหรือเครื่องที่มีขนาดใหญ่ก็ย่อมมีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เพราะต้องดูแลการทำงานหลายอย่างจากผู้ใช้หลายคนพร้อมกัน

     ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
          ในปัจจุบันนี้ ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม จะแยกตามฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้เป็น 2 ระบบ คือระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่อง ไอบีเอ็มพีซี (IBM personal Computer) หรือ เลียนแบบไอบีเอ็มพีซี (IBM PC Competible) และระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่องแมคอินทอช (Macintosh) โดยปกติแล้ว โปรแกรมประยุกต์ใด ๆ จะสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซี ก็จะไม่สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องแมคอินทอช เพราะเครื่องไอบีเอ็มพีซี จะนิยมใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ที่เรียกว่าเอ็มเอสดอส (MS - DOS)หรืออาจใช้ระบบที่ใหม่กว่าคือไมโครซอฟต์วินโดว์ (Microsoft Windows) หรือระบบปฏิบัติการแบบเปิดในตระกูลยูนิกซ์ เช่น SCO UNIX หรือ LINUX ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าแมคอินทอชซิสเต็มเซเว่น (Macintosh System 7) ซึ่งออกแบบโดยบริษัทแอปเปิล การที่เครื่องสองชนิดใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน เนื่องมาจากมีหน่วยประมวลผลกลางไม่เหมือนกัน ผู้ที่จะผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จะต้องเลือกที่จะผลิตซอฟต์แวร์ให้ใช้บนระบบใดระบบหนึ่ง หรือถ้าจะให้ใช้ได้บนระบบปฏิบัติการทั้งสองชนิดก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาสองชุด

          โดยมากแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สนใจว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด แต่จะเลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามต้องการ แล้วจึงพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นทำงานบนระบบปฏิบัติการชนิดใด แต่ผู้ใช้บางกลุ่มก็เจาะจงเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส เพราะมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เลือกใช้ได้มากมาย และผู้ใช้บางกลุ่มก็ต้องการใช้เครื่องแมคอินทอช เพราะมีระบบโต้ตอบผู้ใช้ที่ได้ง่ายและสวยงาม
     ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส (MS - DOS)
          ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้มักจะมีฮาร์ดดิสก์ติดอยู่ด้วยเสมอ เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ในหน่วยความจำของเครื่องเพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ ขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่าการบูตระบบ (booting) หรือ บูตแสตป (bootstrap) ซึ่งมีขั้นตอนคือเมื่อเปิดสวิทช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำรอม (ROM) จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลัก ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงาน (prompt) จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของเอ็มเอสดอสได้ทันที
     ไมโครซอฟต์วินโดว์
          ไมโครซอฟต์วินโดว์ หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่าวินโดว์ มีระบบการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิกที่มีสีสันสวยงามและสามารถใช้ได้ง่าย เรียกระบบที่ติดต่อกับผู้ใช้ลักษณะนี้ว่า GUI (Graphic user Interface) ซึ่งผู้ใช้บนระบบวินโดว์จะทำงานกับเมนู (menu)และรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน (icon)แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ดังรูป

แสดงไอคอนและเมนูบนระบบวินโดว์
          เมนูดังรูปจะเรียกว่า พูลดาวน์เมนู (pull down menu) ซึ่งจะเป็นเมนูที่เมื่อทำการเลือกรายการที่ต้องการแล้วจะมีรายการย่อยถูกถึงลง (pull down) ให้ปรากฏออกมาก นอกจากนี้จะมี เมนูอีกชนิดกนึ่งเรียกว่า ป๊อปอัพเมนู (pop-up menu) ซึ่งจะปรากฏเป็นหน้าต่างย่อยซ้อนขึ้นมาด้านหน้าเมื่อเลือกรายการที่ต้องการ

           ระบบวินโดว์มีข้อดี คือ เอื้ออำนวยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ง่าย โดยการแสดงภาพกราฟฟิกบนจอภาพเมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมา และผู้ใช้สามารถใช้เมาส์ในการชี้และคลิกที่ภาพเพื่อเลือกซอฟต์แวร์ที่ต้องการ แทนที่จะต้องพิมพ์คำสั่งเช่นเดียวกับระบบดอส ดังนั้นระบบวินโดว์จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง และได้มีการพัฒนาเป็นเวอร์ชันใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง นับจาก Windows 3.0 , Window for Workgroup ซึ่งเป็น cooperative multitasking จนมาถึง Windows 95 ซึ่งเป็น preenptive multitasking และ Windows NT ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบ Client/Server

     ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
          ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย
          ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย
     
     ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
          เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เช่นเครื่องระดับเมนเฟรม ได้ถูกพัฒนาขึ้นกว่าสองทศวรรษก่อนที่จะมีเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เสียอีก เครื่องระดับเมนเฟรมจะนำมาใช้ในด้านธุระกิจและการศึกษา ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อม ๆ กันจำนวนมาก ทำให้ระบบปฏิบัติการของเครื่องระดับนี้มีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อม ๆ กันจำนวนหลาย ๆ โปรแกรม (Multitasking) การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลาย ๆ คน (Mutiuser) การจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคน

     ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System)
          ในสมัยก่อนผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการคือบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้น เรียกระบบปฏิบัติการประเภทนี้ว่า ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary operating system) ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันนี้เครื่องระดับเมนเฟรมผู้ขายก็ยังคงเป็นผู้กำหนดความสามารถของระบบปฏิบัติการของเครื่องที่ขายอยู่ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้เริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบการสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ (Protable operating system) เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น

          ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1971 โดย และ จากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT& T ซึ่งได้ทำการพัฒนาบนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของ DEC ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบที่สนับสนุนผู้ใช้งานจำนวนหลายคนพร้อม ๆ กัน โดยใช้หลัก การแบ่งเวลา (time sharing) ต่อมาในปี ค.ศ. 1970 ได้มีการบริจาคระบบปฏิบัติการนี้ให้กับวงการศึกษา และมีการนำไปใช้ทั้งในมหาวิทยา และวิทยาลัยต่าง ๆ มากมาย นักศึกษาจำนวนมากจึงได้ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นผลให้เมื่อนักศึกษาเหล่านั้นจบออกไปทำงาน ก็ยังคงเคยชินกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และจัดหามาใช้ในองค์กรที่ทำงานอยู่ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงได้รับการยอมรับในวงการอุตสาหกรรมและวงการอื่น ๆ อย่างแพร่หลายและมีการใช้งานอยู่ตั้งแต่เครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเครื่องระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์
    
      2.ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator)
          ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน โปรแกรมที่ได้จะเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับ หรือ ซอร์สโคด (source code) ซึ่งมนุษย์จะอ่านโปรแกรมต้นฉบับนี้ได้แต่คอมพิวเตอร์จะไม่เข้าใจคำสั่งเหล่านั้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์เข้าใจแต่ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งประกอบขึ้นจากรหัสฐานสองเท่านั้น จึงต้องมีการใช้โปรแกรม ตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) ในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาต่าง ๆ ไปเป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่แปลจากโปรแกรมต้นฉบับแล้วเรียกว่า ออบเจคโคด (object code) ซึ่งจะประกอบด้วยรหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ต่อไป

          ตัวแปลภาษาที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน จะต่างกันที่ขั้นตอนที่ใช้ในการแปลภาษาให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ สามารถแบ่งได้เป็น
               - แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง
              - อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัดตลอดทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็วแต่ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลโดยการใช้อินเตอร์พรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้จะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน
              - คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลนั้นสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้นำไปใช้ในการทำงานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีของคอมไพเลอร์ที่จะนำผลที่ได้จากการแปลนั้นไปใช้งานกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้เป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
         ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโคดไปเป็นรหัสชั่วคราวหรืออินเทอมีเดียตโคด (Intermediate code) ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรมในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้น โดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องที่มีโปรแกรมตีความได้ทันที  อ้างอิง  http://cptd.chandra.ac.th/

หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (computer memory) มี 2 ประเภท คือ
          1. หน่วยความจำหลัก (primary storage) หรือ หน่วยความจำภายใน (internal memory) จะอยู่ภายในเครื่อง เป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล(data) และชุดคำสั่ง (instruction) มีหน้าที่
                  - เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาเพื่อนำไปประมวลผล หน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่า ที่เก็บข้อมูล (Input Storage Area)
                  - เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย หน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่า ที่เก็บข้อมูลขณะดำเนินการ
    (Working Storage Area)
                  - เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย เรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่า ที่เก็บผลลัพธ์ (Output Storage Area)
                  - เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผล เรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่า ที่เก็บโปรแกรม (Program Storage Area)

          2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่ออยู่กับหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาทีเช่น แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)  จานแม่เหล็ก (Hard disk) แผ่นซีดี (CD Rom) เป็นต้น อ้างอิง http://guru.google.co.th/

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

Hardware

          ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลัก ๆ ได้แก่ 
              1. ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลงไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น
             2. จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ
             3. ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) เป็นอุปกรณ์อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต
             4. คีย์บอร์ด (Keyboard) ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
             5. เม้าส์ (Mouse) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนจอภาพ
             6. ลำโพง (Speaker) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นเสียง อ้างอิง  http://www4.csc.ku.ac.th/

Software

          ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
          โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

ชนิดของซอฟต์แวร์
          - ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
          เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้

ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
           - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
อ้างอิง  http://web.ku.ac.th/

People Ware

          บุคลากร (People Ware) คือ  ผู้ปฏิบัติงานตามกระบวนวิธีการในกิจกรรมต่างๆ  อันได้แก่  การสร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูล  บางกลุ่มอาจทำหน้าที่ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาใหม่ๆ  ตามความต้องการและในการประมวลผล  และอาจเปลี่ยนแปลงโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในโอกาสต่างๆ   จะเห็นว่าบุคลากรทางคอมพิวเตอร์บางกลุ่มทำหน้าที่สร้างกระบวนการวิธีการให้แก่บุคลากรทางคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่นๆ  ได้เพื่อให้การทำงานหรือใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ
          บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท  ซึ่งแต่ละประเภทก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้
               - ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User)
               - ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter)
               - ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
               - ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis)
               - ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager)
อ้างอิง http://home.kku.ac.th/

Data 

          ข้อมูล ( Data) คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือตัวเลข ซึ่งข้อความหรือตัวเลขเหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ คน พืช สัตว์ และสิ่งของ เช่น ปริมาณข้าวที่ประเทศไทยผลิตได้ในในปี 2545 เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข หรือความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปข้อความ เป็นต้น
อ้างอิง  http://tsl.tsu.ac.th/

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
           1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น

          2.ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
          ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
               1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
               2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ

          3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ

          4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
               - เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
               - บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
               - ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
               - ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)
          5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

อ้างอิง  http://www.comsimple.com/

ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ Super Computer, Mini Computer, Micro Computer, Notebook, Tablet,Smart Phone

Super Computer



       ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงที่สุดในกลุ่มมีขนาดใหญ่ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สามารถประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากรวมถึงการประมวลผลงานที่มีรูปแบบอันซับซ้อน มีความรวดเร็วในการคำนวณได้มากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที ( 1 Trillion calculations per second ) ภายในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้มากกว่า 100 ตัว หน่ายวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์นี้คือ หน่วยจิกะฟลอบ (Gigaflop)
          ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานการวิจัยนิวเคลียร์ งานควบคุมทางอวกาศงานประมวลผลภาพทางการแพทย์ ด้านการทหาร วิศวกรรมเคมีภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น การสร้างโมเดลที่สามารถประมวลผลด้านความซับซ้อนสูงในการจำลองการประมวลผลต่างๆ รวมทั่วใช้วิจัยพันธุกรรมในมนุษย์หรือโครงสร้างดีเอ็นเอ ซึ่งมีมากกว่า 80,000 ถึง 100,000 ยีนในร่างกายของมนุษย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมีเภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ และเนื่องจากราคาของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สูงมาก จึงมักมีการใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น หน่วยงานที่มีกำลังความสามารถในการนำไปใช้เพื่องานวิจัย ก็คือหน่วยงานขององค์การรัฐบาล ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มากและมหาวิทยาลัย
อ้างอิง   http://th.wikipedia.org

Mini Computer


          Minicomputer เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกึ่งกลาง ระหว่างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและเมนเฟรม ( แต่คำนี้ไม่มีการใช้แล้ว) โดยทั่วไป minicomputer (มินิคอมพิวเตอร์) มักจะเป็นคอมพิวเตอร์เดี่ยว (ระบบคอมพิวเตอร์กับ เทอร์มินอลและอุปกรณ์อื่น) ขายให้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง สำหรับโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจโดยทั่วไป และองค์กรขนาดใหญ่ สำหรับการทำงานระดับแผนก ในช่วงใกล้ ๆนี้ มินิคอมพิวเตอร์ได้ปรับเป็น "mid-range-server" (เครื่องแม่ข่ายขนาดกลาง) และส่วนเป็นของเครือข่าย เช่น IBM AS / 400 e  ในโครงสร้างแบบเรียงจากน้อยไปหามาก ตามขนาดคอมพิวเตอร์ทั่วไป
            - คอมพิวเตอร์ embedded system programming ซึ่งมีการฝังในบางสิ่งและไม่สนับสนุนการติดต่อโดยตรงกับคน แต่ตรงกับเกณฑ์ทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
            - คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (microcomputer)
            - เวิร์กสเตชัน ใช้ในความหมายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ความสามารถสูงสำหรับการประยุกต์พิเศษ
            - มินิคอมพิวเตอร์
            - เมนเฟรม หรือ คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งในปัจจุบันอ้างถึงโดยผู้ผลิตในฐานะ "large server" (เครื่องแม่ข่ายขนาดใหญ่)
          ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ "ray supercomputer" แต่ปัจจุบันหมายถึง เครื่องแม่ข่ายขนาดใหญ่ และบางครั้ง รวมถึงระบบของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ในการประมวลผลแบบขนาน
          การประมวลผลแบบขนาน คือ ระบบการติดต่อภายในของคอมพิวเตอร์ ที่ทำงานบนโปรแกรมประยุกต์ที่เหมือนกัน งานที่ร่วม ซึ่งสามารถทำงานพร้อมกัน
อ้างอิง
 http://www.com5dow.com/

Micro Computer


          มโครคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: microcomputer) คือ คอมพิวเตอร์ที่มีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นหน่วยประมวลผลกลาง คุณสมบัติประการหนึ่งของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้คือ จะกินพื้นที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับมินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) และ เครื่องเมนเฟรม (mainframe) ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ประกอบไปด้วยคียบอร์ดและจอภาพ โดยปกติเรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer)  อ้างอิง   http://th.wikipedia.org

Notebook


          โน๊ตบุ๊ค เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็ก มีความเร็วใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ตั้งแบบโต๊ะ มีขนาดบาง และมีขนาดเบากว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ สามารถที่จะพกพาได้สะดวก โดยทั่วไปมีราคาสูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คสามารถเปิดใช้งานได้นานประมาณ 2-4 ชั่วโมง โดยใช้พลังงานจากไฟแบตเตอรี่ในตัว และสามารถชาร์ตแบตเตอรี่ได้โดยใช้ไฟบ้านอีกด้วย  อ้างอิง  เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.พิมพ์ครั้งที่3.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Tablet,Smart Phone


          แท๊บเล็ต เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็กกว่าโน๊ตบุ๊ค คล้ายแผ่นกระดาน สามารถใช้งานได้เหมือนสมุดบันทึก มีหน้าจอเป็นระบบสัมผัส สามารถเขียนตัวหนังสือ หรือวาดภาพลงไปบนหน้าจอได้เลย ในปัจจุบันแท็บเล็ตสามารถที่จะใส่ไฟล์งาน เสียงดนตรี รูปภาพ เกมส์ หรือหนังยาวๆสักเรื่องได้เลย และในปัจจุบันสามารถบันทึกภาพ หรือวีดีโอได้   อ้างอิง  เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.พิมพ์ครั้งที่3.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง

การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง โดยหลักๆ มีดังนี้


  • การหาข้อมูล เช่น หาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกข้าว วิธีการเลี้ยงกุ้ง น้ำหมักชีวภาพ ยาฉีดวัชพืช แบบทรงผม แฟชั่นเสื้อผ้า/รองเท้า/กระเป๋า เป็นต้น
  • การดาวห์โหลด เช่น โหลดเกม โหลดเพลง โหลดการ์ตูน โหลดวิดีโอต่างๆ
  • การพิมพ์ เช่น การใช้เวิดในการพิมพ์งาน โปรแกรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง ปริ้นงาน ถ่ายเอกสาร เป็นต้น
  • ความบันเทิง เช่น สอนบุคคลในบ้านเล่นเฟสบุ๊ค ทวิสเตอร์ ฟังเพลงออนไลน์ ดูทีวีออนไลน์ ฟังวิทยุออนไลน์ เป็นต้น

เทคโนโลยี 3G

เทคโนโลยี  3G 

                 3G หรือ Third  Generation  เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล   และ  เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน  เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ  Walkman,  กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต 3G  เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่  2  และ  2.5   ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง   แล ะ  การส่งข้อมูลในขั้นต้น  ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก  การพัฒนาของ  3G   ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย  และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
                ยุค 1G   เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมองดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ   ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ   และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ   จึงติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย    และการขยายแถบความถี่   ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณ   เพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้   ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่   ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก  ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล  และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น
                ยุค 2G  เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือเพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว
                 ยุค  2.5G    การสื่อสารไร้สายยุค   2.5G  ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี    ในระดับ 2G   แต่มีประสิทธิ  -  ภาพด้อยกว่ามาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค  3G  โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล   แบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ  20 – 40 Kbps   ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G
                  ยุค 3G   เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้  โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้  และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS)   โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย    สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย  เช่น  จากคอมพิวเตอร์   จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ   CDMA   ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า  แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WCDMA
                นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น   3G    เป็นแบบ  CDMA  เช่นกัน แต่เรียกว่า   CDMA2000   กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก   IS95   ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา  และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง  (HDR-High Data Rate)   การพัฒนาในยุคที่สามนี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย   โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ   1G และ 2G    โดยเรียกรูปแบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า    GPRS – General  Packet  Radio  Service    ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่   9.06,  13.4,  15.6 และ 21.4  กิโลบิตต่อวินาที   โดยในการพัฒนาต่อจาก   GPRS    ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า  EDGE - (Enhanced  Data  Rate  for  GSM  Evolution)
เทคโนโลยีในยุคที่    3   เรื่องความเร็วในการรับ  -  ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia  ได้อย่างสมบูรณ์แบบ  และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น  การรับ - ส่ง  File  ขนาดใหญ่,  การใช้บริการ   Video   Conference,   Download เพลง, ดู TV ในลักษณะแบบ Streaming เป็นต้น
               สำหรับประเทศไทย  ปี  2549  นี้  เป็นปีที่จะพยายามเข้าสู่ยุค 3G  แต่สำหรับต่างประเทศโดย เฉพาะประเทศญี่ปุ่นได้เลยยุค 3G มาแล้ว


http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/3g/what%203g.html

บริการต่างๆของ Google

บริการต่างๆของ Google

-Google Search เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 ภาษา
-Google Groups บริการเว็บบอร์ด และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม
-Google Image Search บริการค้นหารูปภาพออนไลน์
-Google Calendar บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย
-Gmail  บริการอีเมล
-Google Zeitgeist  บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช
-Google Docs  บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง เวิร์ด สเปรดชีต พรีเซนเตชัน ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2550
-Google Translate  บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า
-Blogger  บริการเขียนบล็อก
-Blog Search  บริการค้นหาบล็อก
-Picasa  เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา
-Google Page  บริการสร้างเว็บไซต์
-Google Maps  บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร
-YouTube  บริการแชร์วิดีโอ
-Google Video  บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์
-Google Webmaster  ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์
-Google Scholar  บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ
-Google Sky  ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์
-Google Directory  ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก ดีมอซ
-Orkut  เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ้ก ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547
-Google AdSense  ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์
-Google AdWords  บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์
-Google Analytics  บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน
-Google Apps บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทางชื่อโดเมนส่วนตัว โดยแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน
-iGoogle  ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บฟีดและแกเจ็ต จากเว็บอื่นมารวมได้
อ้างอิง   http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww526/rt115010462017/rt115010462017-web1/parent/iEsgg.htm

FTp (file transfer protocol)

        
          FTP ย่อมาจาก (File Transfer Protocol) คือ รูปแบบมาตรฐานบนโครงข่าย (standard network protocol) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย
          ที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ (server) โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม ไฟล์ซิลลา CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
          จากบทความด้านบนขอขยายความดังนี้ครับ โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting (Server) ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วันโดยไม่มีวันหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting (Server) ไม่เคยปิดนั่นเอง ทีนี้เรามาพูดถึงการสร้างเว็บไซต์กันบ้าง การสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML, PHP, ASP, ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง สำหรับโปรแกรมที่แนะนำให้ใช้ในการโอนย้ายไฟล์นั้น คือโปรแกรม Filezilla เพราะเป็น Opensouce สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี และใช้งานง่าย มีการ Update โปรแกรมอยู่โดยตลอด
 อ้างอิง  http://www.ninetechno.com/a/website/71-joomla-ftp.html

E-mail

          อีเมล (อังกฤษ: e-mail, email) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) และเปลี่ยน RFC 733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 (RFC 822) การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย RFC 2045 ไปจนถึง RFC 2049 และภายหลังก็เรียกกันว่าส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)
           ระบบอีเมลที่ดำเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจำกัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันครื่องเดียว มีพื้นฐานอยู่บนแบบจำลองบันทึกและส่งต่อ (store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมลนั้นจะตอบรับ ส่งต่อ หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมลภายในด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ บนเครือข่าย ในการรับส่งข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ที่กำหนด ส่วนการส่งอีเมลโดยตรงจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์นั้นพบได้ยากกว่า

      โปรแกรมจัดการอีเมล (Email Client)

- Eudora โปรแกรมยอดนิยมในยุคแรก ๆ จากบริษัท Qualcomm
- Microsoft Outlook Express โปรแกรมจัดการอีเมลที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows
- Microsoft Outlook หนึ่งในโปรแกรมจัดการงาน ตารางนัดหมาย ปฏิทิน ที่มาพร้อมกับชุด Microsoft Office
- Netscape ในชุด Netscape Communicator ประกอบไปด้วยเบราว์เซอร์ โปรแกรมจัดการอีเมลและอ่านข่าว รวมไปถึงโปรแกรมเขียนเว็บเพจ
- Thunderbird จาก Mozilla Foundation
- IncrediMail โปรแกรมอีเมลที่ใส่รูปแบบสีสันได้ดี
- Lotus Notes โลตัสโน้ตส์ เป็นโปรแกรมอีกโปรแกรมหนึ่งซึ่งมีผู้นิยมใช้มาก มีจุดเด่นในเรื่อง Database ที่ใช้ในการส่งข้อมูลภายในองค์กรดีมาก

      ผู้ให้บริการอีเมลฟรี

- ฮอตเมล (Hotmail) บริการอีเมลจากไมโครซอฟท์
- ยาฮู!เมล (Yahoo! Mail) บริการอีเมลจากยาฮู
- จีเมล (Gmail) บริการอีเมลจากกูเกิล
- ไทยเมล์ (Thaimail) บริการอีเมลโดยบริษัทเออาร์ไอพี
- AOL Mail บริการอีเมลจาก AOL เป็นที่นิยมของคนอเมริกัน

- คนไทยดอตคอม เป็นบริการอีเมลฟรีสำหรับคนไทยทุกคน ที่ทางกระทรวงมหาดไทยจัดทำให้ โดยชื่ออีเมลจะเป็นตัวอักษร "P" ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน และตามด้วย "@khonthai.com" เดิมสามารถสมัครได้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ปัจจุบันต้องยื่นเรื่องขอที่ทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ  

อ้างอิง  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5#.E0.B9.82.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.A1.E0.B8.88.E0.B8.B1.E0.B8.94.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B8.AD.E0.B8.B5.E0.B9.80.E0.B8.A1.E0.B8.A5_.28Email_Client.29

Game Online กับการศึกษา

Game Online กับการศึกษา
          เกมออนไลน์ (Online Game) คือ เกมที่เป็นลักษณะที่มีผู้เล่นหลายคน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยที่จะมีตัวละครเล่นแทนตัวเรา มีการพูดคุยกันในเกม สร้างสังคมช่วยกันต่อสู้ เก็บประสบการณ์ หรือ โดยเกมออนไลน์ส่วนมากจะเป็นเกมประเภท MMORPG ซึ่งผู้เล่นแต่ละคนจะสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวหนึ่งในโลก สร้างสังคมออนไลน์ ในเกมสามารถสร้างห้องขึ้นมาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน มีการส่งข้อความถึงกันได้ในเกม เกมออนไลน์ เกมแรกที่เปิดให้บริการในประเทศไทยคือเกม King of Kings
          การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วย เกมออนไลน์อาจจะทำให้ผู้เล่นติดจนไม่สนใจที่จะทำงานหรือหน้าที่ของตนเอง และอาจจะเป็นคนหัวรุนแรง แต่เกมออนไลก็มีข้อดีเช่นคือ จะทำให้เราได้รู้สิ่งใหม่ที่เราไมรู้เช่น กราฟฟิคในฉากต่างๆภายในเกมส์ แต่เกมที่มีความสร้างสรรค์จะมีประโยชนืต่อการศึกษามาก เพราะเกมส์เหล่านี้จะส่งเสริมจินตนาการของผู้เล่นทั้งในด้านของศิลปะ ความละเอียด การมีสมาธิ และความจำอ้างอิง  http://chonticha313.blogspot.com/2013/11/game-online.html
          เกมการศึกษา เกมที่จะช่วยให้บุตรหลานของคุณเจริญเติบโตและพัฒนาเพื่อให้เขาอาหารมากสำหรับการพัฒนาของสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ inclinations การพัฒนาเกมที่ดีเลิศสมบูรณ์แบบของเล่นของบุตรของท่าน ของเล่นและเกมเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อเล่นเด็กสร้างตัวละครของตัวเองในความต้องการทางอารมณ์และทางปัญญาที่น่าพอใจ เราแต่ละคนมีความมุ่งมั่นที่เคยมีมาทั้งสองกรณีใด ๆ ไม่ว่าจะยากหรือง่ายขนาดเล็กหรือใหญ่ แต่มีความแตกต่างทั้งหมดที่ทำให้เรากรณีที่พวกเขาทำมีความคล้ายคลึงกัน, ความคล้ายคลึงกันที่เราสามารถกระจายการกระทำใด ๆ โดยทั้งสองกลุ่มนี้เป็นความท้าทายใหม่และเก่าที่รู้จักกันแล้วให้เรามีปัญหา อาชีพใด ๆ ที่ต้องการให้เราดำเนินการกรณีที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้เรียนรู้การขับรถ, ไดรเวอร์ที่ในอนาคตจะดำเนินการอย่างเดียวกันซ้ำ ๆ นำทักษะของพวกเขาในกรณีเฉพาะเพื่อ automatism ตัวอย่างเช่นขับรถสามารถตรวจสอบผู้โดยสารที่เดินทางในขณะที่ไม่ทำผิดพลาดในขณะขับรถ ดังนั้นงานมืออาชีพที่สามารถเรียกว่าเก่า แต่ที่นี่เราเผชิญกับปัญหาใหม่เกิดขึ้นเช่นขับรถที่ถูกหักและจะต้องมีการซ่อมแซม ไดรเวอร์ที่รู้วิธีการแก้ไขปัญหา แต่ไม่ทราบว่าที่มันเป็น ตอนนี้เขาจะต้องใช้ตรรกะของตัวเองฉลาดและของพวกเขาในการแก้ปัญหาใหม่ไม่สามารถมีความซับซ้อนมาก แต่ยังคงงานที่เขาไม่เคยมาก่อนที่ งานนี้สามารถเรียกความคิดสร้างสรรค์ ช่วงของงานสร้างสรรค์ที่มีขนาดใหญ่มากก็อาจจะซ่อมรถบัสและรถใหม่และการประดิษฐ์ของบางสิ่งบางอย่างใหม่ทั้งหมด ในสถานการณ์เช่นนี้คนที่จะต้องมีคุณภาพเช่นปัญญา, สติปัญญาความคิดความสามารถในการค้นหาความสัมพันธ์และการอ้างอิง มันเป็นคุณสมบัติเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ มันสำคัญมากเท่าที่เป็นไปได้ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กที่เป็นช่วงต้นของวัยอนุบาลเพราะในอนาคตมันจะช่วยให้เขาได้เรียนรู้และยอมรับสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้นอย่างแจ่มแจ้งและช่ำชอง ที่นี่คุณสามารถเล่นเกมการศึกษาสำหรับเด็กออนไลน์ ก่อนที่บุตรของคุณจะถูกวางไว้ปัญหาร้ายแรงที่มีวิธีการแก้ปัญหาจะต้องทำความคุ้นเคยกับการดำเนินการต่างๆที่วิธีการของการส่งข้อมูล การแก้ปัญหาจะนำเสนอให้เด็กเป็นรูปแบบรูปแบบ, นี้จะช่วยให้เขาไปเปรียบเทียบงานของเขาเพื่อเป็นตัวแทนของการแก้ปัญหาและจึงประเมินความถูกต้องของมัน เด็กเกมการศึกษาออนไลน์ฟรีจะค่อยๆเพิ่มความยากของงานที่ปรากฏก่อนที่เด็กที่ดีจะมีการพัฒนาและฝึกอบรมเขา
อ้างอิง  http://th.igames24.com/Catalog.aspx?name=educational

ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านต่างๆ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านต่างๆ มีดังนี้
1.ด้านเศรษฐกิจ
         การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยด้านธุรกิจ เริ่มจากระดับประเทศ เห็นได้ว่า เน้นย้ำถึงการบริหารจัดการด้านข้อมูลข่าวสาร ในระดับองค์กร มีการตั้งหน่วยงานไอทีขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการประมวลผลข้อมูล การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล

2.ด้านการศึกษา
     การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยด้านการศึกษา ใช้สนับสนุนในการเรียนการสอน ภายในโรงเรียน มหาวิทยาลัยทำการพัฒนาระบบเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ เช่น ระบบการลงทะเบียน ชำระค่าลงทะเบียนเรียน ดูเกรด โดยสามารถทำผ่านในระบบอินเทอร์เน็ต
      

3.ด้านความบันเทิง
      

4.ด้านธุรกิจ
        เริ่มให้ความสำคัญกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เช่น การซื้อขายสินค้าออนไลน์ การชำระค่าใช้จ่าย การโอนเงิน การประชาสัมพันธ์ อำนวยความสะดวยต่างๆหรือให้บริการผ่านเว็บ
5.ด้านสังคม
         เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารของผู้คนในสังคม เช่น เฟซบุค ทวิตเตอร์ เป็นต้น 

6.ด้านการขนส่ง
        มีการจัดทำแผนที่ให้บริการผ่านทางเว็บ ที่นิยมคือ Google ได้สร้างไว้ทั้งแผนที่ทั่วไป แผนที่ภาพถ่ายทางดาวเทียม 

7.ด้านการทหาร
         มีการนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาใช้ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ระบุตำแหน่งผ่านดาวเทียม GPS กล้องถ่ายภาพทางอากาศ แผนที่ทางอากาศ เป็นต้น และยังใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ GIS อีกด้วย
8.ด้านการสื่อสาร
           -ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะต้องส่งไปยังผู้รับ(E-mail Address)  อ้างอิง เอกสารประกอบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร




เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาช่วยในการรวบรวม ประมวลผล สรุป จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพ และเสียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) สู่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies : ICT) ระยะแรกนิสิตจะคุ้นเคยกับ คำว่า IT คือการมีข้อมูลสารสนเทศ (Information) และมีเทคโนโลยี (Technology) ซึ่งหมายถึง คอมพิวเตอร์ที่มาแรงมากในช่วงประมาณ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ระยะหลัง ICT มีบทบาทมาก กล่าวคือ ได้ใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่นอกจากจะรวมเอาอุปกรณ์คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยทำการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เป็นสารสนเทศ (Information) ที่มี ความหมายในการบริหารจัดการแล้ว ยังใช้อุปกรณ์ทางการสื่อสาร (Communication) ช่วยเชื่อมโยงไปหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกล (Remote Area) โดยใช้โทรศัพท์ ดาวเทียม ไมโครเวฟ ทำให้การรับส่งและแลกเปลี่ยนเอกสารเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) จึงสามารถติดต่อข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเอง

อ้างอิง  http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit1_p02.html

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information technology ) คือ การประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาสาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร ตลอดจนอาศัยความรู้ในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ รวมถึงการจัดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง อ้างอิง https://sites.google.com/site/loryeng2/khwam-hmay-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes